รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการของผู้อํานวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดศรีสะเกษ

 


รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการของผู้อํานวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดศรีสะเกษ
The Model for the Development of Academic Leadership Behaviors of Directors of Education Division under the Sub-district Administrative Organizations in Sisaket Province

 : ชื่อผู้วิจัย นายปิยะ ล้วนเส้ง
 : ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
 : ครูและบุคลากรทางการศึกษา
 : ปี 2558
 : 162


บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการของผู้อํานวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการของผู้อํานวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการ ของผู้อํานวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการดีเด่น จํานวน 15 คน ว่าควรมีพฤติกรรมทางวิชาการเป็นอย่างไรจากบุคคลดีเด่นทางการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมผู้นําทางวิขาการจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 129 คน ว่ามีความต้องการอยู่ระดับใด ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ จากผู้เชี่ยวชาญในการประเมินรูปแบบการพัฒนา จํานวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ในการสนทนากลุ่ม จํานวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้อํานวยการกองการศึกษามีความต้องการพัฒนาพฤติกรรมผู้นําทางวิชาการ อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน คือ การนิเทศและติดตามการนําหลักสูตรไปใช้ การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพโดยการใช้วิจัยเป็นฐาน การสร้างความเข้าใจในกฎเกณฑ์การประเมินผล การสร้างและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นําของบุคลากรและทราบกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และโรงเรียน การเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้โอกาสครูและบุคลากรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการพัฒนาวิสัยทัศน์
2. การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการ รูปแบบประกอบด้วย แนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย การประเมินก่อนการพัฒนา การพัฒนาตามรูปแบบ การประเมินการหลังการพัฒนา การพัฒนาซ้ำและแนวทางที่จะนํารูปแบบไปใช้
3. ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด


ปิยะ  ล้วนเส้ง นักวิชาการศึกษา (2558) รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดศรีสะเกษ.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา


ความคิดเห็น