ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ

 Title

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ

Classification :.DDC: 371.201 ก131ภ 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 โรงเรียน จำนวน 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .985 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F–test แบบ One-Way ANOVA ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอนจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการที่สูงขึ้น มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ชัดเจนแก่บุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร เพื่อสนับสนุนให้ครูจัดทำหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นที่เอื้อกับบริบทของสถานศึกษา ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ ควรส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีทักษะด้านการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีมาตรฐาน สนับสนุนให้ครูวัดผลเพื่อปรับปรุงผลการเรียนและตัดสินผลการเรียน อีกทั้งควรส่งเสริมให้ครูได้จัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางวิชาการของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และส่งเสริมการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ชัยภูมิ
Email: Library@cpru.ac.th
Role: ผู้ให้การสนับสนุน
Created: 2561
Modified: 2562-10-31
Issued: 2562-10-31
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
RightsAccess:
กมลทิพย์ (2561) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ความคิดเห็น